พนักงานลูกจ้างที่ทำงานในสถานประกอบการหรือบริษัทเอกชน ส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ในระบบของประกันสังคมตามกฎหมาย แต่บางท่านอาจยังไม่รู้ว่าประกันสังคมที่นายจ้างขึ้นทะเบียนให้นั้นอยู่ในมาตราอะไรกันแน่
ประกันสังคมมาตรา 33 คือ?
ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 คือ คือลูกจ้าง หรือ พนักงานเอกชน ที่ทำงานอยู่ในบริษัทหรือสถานประกอบการที่มีลูกจ้างมากกว่าหนึ่งคนขึ้นไปมีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ โดยนายจ้างจะเป็นผู้ขึ้นทะเบียนให้ลูกจ้างที่ประกันสังคมในพื้นที่ ภายใน 30 วันหลังจากที่เข้าทำงานในบริษัท ลูกจ้างไม่ต้องทำการขึ้นทะเบียนเอง
ลักษณะการจ่ายเงินสมทบมาตรา33
- ลูกจ้างจะต้องจ่ายเงินสมทบ 5% ของค่าจ้างคิดจากค่าจ้างขั้นต่ำ 1,650 บาท สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาทหมายความว่าลูกจ้างที่เงินเดือนเกิน 15,000 บ.ก็จะจ่ายเงินสมทบสูงสุด 750 บ.
- นายจ้าง จ่ายเงินสมทบ 5%
- รัฐบาลสมทบเพิ่มเติมอีก 2.75 %
สิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนมาตรา33
ผู้ประกันตนมาตรา 33 จะได้รับสิทธิประโยชน์แบ่งออกเป็น 2 ส่วนก็คือ
- สิทธิประโยชน์ 7 กรณีจากกองทุนประกันสังคม ซึ่งต้องไม่เกิดจากการทำงาน
- กรณีประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย ซึ่งไม่เกิดจากการทำงาน
- กรณีทุพพลภาพ ซึ่งไม่เกิดจากการทำงาน
- กรณีเสียชีวิต ซึ่งไม่เกิดจากการทำงาน
- กรณีคลอดบุตร
- กรณีสงเคราะห์บุตร
- กรณีชราภาพ
- กรณีว่างงาน
- สิทธิประโยชน์ จากกองทุนเงินทดแทนประกันสังคมให้ความคุ้มครองเมื่อประสบเหตุอันเนื่องจากการทำงาน
- ค่ารักษาพยาบาล จนสิ้นสุดการรักษา
- ค่าทดแทน ใน 4 กรณี
- หยุดงาน
- สูญเสียสมรรถภาพในการทำงาน
- ทุพพลภาพ
- ตาย หรือสูญหาย