โดยปรกตินั้นหากทางผู้ให้บริการเครือข่ายของเรานั้นเปิดให้เราได้ทำการอัพเดตเวอร์ชั่นหรืออัพเดตระบบต่างๆ ภายในเพื่อเข้าไปแก้ไขนั้น เราจะรีบทำการอัพเดตทันที แต่ก็เกิดบางกรณีที่เพื่อนๆ บางคนนั้นหลังจากที่ได้ทำการอัพเดตระบบปฏิบัติไปแล้ว ระบบภายในเครื่องของเรานั้นเกิดปัญหาต่างๆ ตามมาได้นั้นเอง โดยปัญหาแต่ละอย่างก็มีมีหลายสาเหตุ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นกับตัวเครื่องของเราที่เก่าเกินไป หรือ ปัญหาของ Software ภายในก็เป็นได้ โดยวันนี้เราจะพาเพื่อนๆ ไปดู 2 วิธีที่ช่วยให้เพื่อนๆ อัพเดตระบบปฏฺิบัติการได้เร็วขึ้น และอัพเดตอย่างไรไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นกับเครื่องขอบเราขึ้นนั้นเอง
ห้ามใช้ Google Services Framework
Google Services Framework เป็นโปรแกรมขนาดเล็กตัวหนึ่งภายในระบบปฏิบัติการ Android ที่หน้าที่ในการจัดการในการทำงานต่างๆของ Google Services ภายในเครื่องของเรานั้นเอง โดยการทำงานของ Google Services Framework นี้นั้นจะทำการรับและส่งข้อมูลหากันระหว่างแอปพิเคชั่นและ Google Services Framework นั้นเอง ซึ่งหมายความว่า Google Services Framework นี้นั้นจะเก็บไฟล์ต่างๆ ไว้มากมาย และหากเราไม่ทำการ Clear Data ใน Google Services Framework นี้นั้นการอัพเดตระบบของเราก็อาจจะช้ามากกว่าเดิมได้ โดยขั้นตอนการ Clear Data ใน Google Services Framework ให้เราเข้าไปที่ Settings > Apps > All > เข้าไปที่ Google Services Framework จากนั้นทำาการ Clear Data ออก
ห้ามทำการ factory reset ก่นอการอัพเดต
โดยปรกตินั้นเพื่อนๆ อาจจะคิดว่าหากเราเลือกทำการ factory reset ตัวเครื่องของเราก่อนที่จะทำการอัพเดตระบบปฏิบัติการหรือเวอร์ชั่นใหม่ๆ บน Android นั้นจะทำให้เครื่องของเรานั้นอัพเดตได้เร็วขึ้น แต่ความเป็นจริงนั้นกลับกันเลยครับ โดยขั้นตอนที่ทำให้เราอัพเดตระบบปฏิบัติการได้เร็วกว่าเดิมนั้นก็คือขั้นตอนตามนี้เลยนั้นเอง backup > update > reset > restore 4 ขึ้นตอนนี้ถือว่าเป็นขั้นตอนที่ช่วยให้เพื่อนๆ อัพเดตระบบปฏิบัติการได้เร็วและไม่มีปัญหาต่างๆ เกิดขึ้นหลังจากอัพเดตได้นั้นเอง