
พ.ร.บ. คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์โดยไม่คำนึงว่าบุคคลที่ประสบอุบัติเหตุดังกล่าวเป็นผู้กระทำผิดหรือไม่ ซึ่งเป็นการประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ กฎหมายกำหนดให้ยานพาหนะทางบกทุกประเภทที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก ต้องทำประกันภัยประเภทนี้เพื่อให้ความคุ้มครองกับตัวบุคคลที่ได้รับผลจากอุบัติเหตุ โดยจะให้ความคุ้มครองต่อตัวคู่กรณีและผู้เอาประกันเมื่อเกิดอุบัติเหตุในรูปแบบของเงินชดเชยและค่ารักษาพยาบาลตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้นรถทุกคันไม่ว่าจะเป็นรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนกับกรมขนส่งจะต้องมีการต่อ พ.ร.บ. ทุกปีหากใครฝ่าฝืนจะมีโทษปรับตามกฎหมายรถคันไหนไม่ทำ พ.ร.บ.เลยจะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท แต่ถ้าแสดงเครื่องหมาย พ.ร.บ. ไม่ชัดเจนมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือ พ.ร.บ.หมดอายุแล้วเจอด่านเรียกก็จะมีค่าปรับประมาณ 400-1,000 บาท
ขั้นตอนในการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์
ทุกๆปีรถยนต์ที่มีการจดทะเบียนกับกรมขนส่งทางบกจะต้องทำการต่อ พ.ร.บ.ทุกปีหากรถคันไหนที่ พ.ร.บ.หมดอายุจะต้องเสียค่าปรับตามกฎหมายกำหนดซึ่งพ.ร.บ.รถยนต์จะไม่สามารถซื้อย้อนหลังได้แต่สามารถซื้อความคุ้มครองล่วงหน้าได้ไม่เกิน 90 วัน สามารถไปต่ออายุ พ.ร.บ.ได้ที่กรมการขนส่งแต่ละจังหวัด หรือสามารถซื้อ พ.ร.บ.ผ่านบริษัทประกันภัยบริษัทต่างๆก็ได้ แต่ง่ายไปกว่านั้น สามารถต่อ พ.ร.บ. แบบออนไลน์ได้แล้ว ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถทำการต่อ พ.ร.บ. ได้ ซึ่งมีความสะดวกสะบายเป็นอย่างมาก
เอกสารในการต่อ พ.ร.บ.
- สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาทะเบียนรถ หรือเล่มจริง
ขั้นตอนการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ออนไลน์
การต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์จะสามารถทำได้เฉพาะรถยนต์ที่มีอายุไม่เกิน 7 ปี เท่านั้นเนื่องจากรถยนต์ที่มีอายุเกินกว่า 7 ปี จะต้องมีการตรวจสภาพรถยนต์ถึงจะสามารถทำการต่อ พ.ร.บ. ได้
1.เข้าเว็บไซต์ของกรมขนส่งทางบก >> คลิกที่นี่ >> เลือกลงทะเบียนสมาชิกใหม่

2.กรอกข้อมูลให้ครบแล้วกดบันทึก

3.ทำการ Log in เข้าระบบ แล้วเลือก >> ชำระภาษีรถประจำปี >> ชำระภาษีรถประจำปีผ่านอินเตอร์เน็ต

4.กรอกข้อมูลประเภทรถ จังหวัด เลขทะเบียนรถ >> กดยื่นชำระภาษี

5.จะมีหน้าจอให้เลือก พ.ร.บ.ออนไลน์โดยสามารถเลือกซื้อกับบริษัทประกันภัยตามที่ต้องการได้เลย >> แล้วกรอกสถานที่จัดส่งเอกสาร >> เลือกช่องทางการชำระเงิน สามารถเลือกได้ 3 ช่องทางคือ บัญชีธนาคาร บัตรเครดิต ชำระผ่านเคาน์เตอร์บริการ >> หลังจากนั้นทางกรมขนส่งจะทำการส่ง พ.ร.บ. มาให้ผ่านทางไปรษณีย์
ประโยชน์ของพ.ร.บ.
ความคุ้มครองทันที โดยไม่ต้องรอว่าใครผิดใครถูก ค่ารักษาพยาบาลรวมแล้วไม่เกิน 65,000 บาท
- เงินค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ ตามค่าใช้จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท/คน
- กรณีเกิดเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร จ่ายไม่เกิน 35,000 บาท/คน
- กรณีผู้ประสบภัยต้องใช้กะโหลกศีรษะเทียม ไม่เกิน 35,000 บาท/คน
- ความคุ้มครองเมื่อเป็นฝ่ายถูก เราจะได้เงินค่ารักษาพยาบาลเพิ่มอีก ทั้งหมดไม่เกิน 504,000 บาท
ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ ไม่เกิน 80,000 บาท/คน กรณีเป็นคนถูกหลังการพิสูจน์ผิดถูกแล้ว
- เมื่อสูญเสียอวัยวะ (สูญเสียนิ้วมือ นิ้วเท้า หนึ่งข้อนิ้วขึ้นไป) จำนวน 200,000 บาท/คน
- เมื่อสูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน รวมถึงกะโหลกศีรษะเทียม จำนวน 250,000 บาท/คน
- สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วน รวมกัน จำนวน 500,000 บาท/คน
- เงินชดเชยกรณีทุพพลภาพถาวร ไม่เกิน 300,000 บาท/คน
- เงินชดเชยกรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง ไม่เกิน 500,000 บาท/คน
- ชดเชยรายวัน 200 บาท รวมไม่เกิน 20 วัน กรณีเข้าพักรักษาพยาบาล (ผู้ป่วยใน) สูงสุดไม่เกิน 4,000 บาท/คน